จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพจากมูลช้าง (ELEPHANTS DUNG FERTILIZER)
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง


        โครงการใช้ประโยชน์จากมูลช้างแบบครบวงจรทางธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง ได้จัดทำโครงการใช้ประโยชน์มูลช้างแบบครบวงจรทางธรรมชาติ เพื่อเศรษฐกิจขึ้น สืบเนื่องมาจากในสภาพธรรมชาติ ช้างถือเป็นสัตว์เบิกนำ เป็นผู้ที่ให้ร่มเงาแก่ป่าและสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ช้างจะเป็นผู้เบิกทางภายในป่าและดึงยอดไม้ ใบไม้ที่อยู่ในที่สูงลงมาเป็นอาหารแก่ตัวเองและสัตว์ป่าอื่น ๆ นอกจากนี้ช้างยังเป็นสัตว์มังสวิรัติที่บริโภคอาหารจำพวก พืช ผักและผลไม้ ในแต่ละวันดัวยปริมาณที่มากประมาณ 6-12 % ของน้ำหนักตัวและขับถ่ายออกมาประมาณ 60 % ของอาหารที่ได้กินเข้าไป

           สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ มีช้างอยู่ในความดูแลเป็นจำนวน 50 เชือก ก่อให้เกิดมูลช้างจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะตามมา ทางสถาบันคฃบาลแห่งชาติฯ จึงเล็งเห็นสมควรที่จะนำมูลช้างมาใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าให้กับมูลช้าง โดยนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่แก๊สชีวภาพ,กระดาษมูลช้าง, ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นศูนย์ตัวอย่างของการนำมูลช้างกลับมาสร้างประโยชน์ และมาตรฐานให้แก่ปางช้างและผู้ประกอบการเกี่ยวกับช้างทั่วประเทศ เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นการลดมลภาวะ และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

         กระบวนการและขั้นตอนของการผลิตปุ๋ยมูลช้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ โดยประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ สำหรับวัตถุดิบเป็นส่วนผสมสำคัญ คือ มูลช้าง,ตะกรันอ้อย,หินฟอสเฟต,โดโลไมท์ และมูลสัตว์ ขั้นตอนการหมักจะหมักรวมเป็นชั้น ๆ แล้วราดดัวยน้ำจุลินทรีย์ประยุกต์ ใช้ทั้ง EM ขยายและจุลินทรีย์เฉพาะหลังจากหมักและกลับกองใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน แล้วตรวจสอบคุณภาพ และผสมเชื้อราและแบคทีเรียรวมทั้งฮอร์โมนในขั้นตอนก่อนการบรรจุลงถุง เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพจากมูลช้างสำเร็จรูป บรรจุลงถุงพร้อมจำหน่าย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจาก มูลช้าง ตราอนุรักษ์ช้างไทย ภายใต้สโลแกน ปุ๋ยดี ปุ๋ยคุณภาพเหมาะสำหนับคนรักช้างและต้นไม้

        สิ่งสำคัญที่สุดของปุ๋ยมูลช้างจะเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และเชื้อแบคทีเรีย อโซโตแบตเตอร์ ทำให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดินอย่างต่อเนื่อง ตรึงไนโตรเจนในปุ๋ยมูลช้าง และยังมีเชื้อที่สามารถเปลี่ยนธาตุ P รวมที่มีอยู่ในดินให้เป็นในรูป P2O5 ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเพิ่มไคโตซานเร่งการเจริญเติบโตของพืช

1.ส่วนผสมสำคัญ

มูลช้าง (Elephants dung) ตะกรันอ้อย (Fillter Cake)

หินฟอสเฟต (Phosphate) โดโลไมท์ (Dolomite)

มูลไก่ (Checkens dung) น้ำอีเอม (Effective Microorganism (EM))

2. ขั้นตอนการผลิต

1. นำวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้มาชั่งน้ำหนักตามอัตราส่วน

2. นำมาใส่ในบล็อกหมัก ขนาด 2 X 2 เมตร โดยจะหมักรวมกองเป็นชั้น ๆ จำนวน 6 ชั้น ต่อ 1 บล็อก

ซึ่งแต่ละชั้นจะราดด้วยน้ำจุลินทรีย์ประยุกต์ โดยใช้ทั้ง EM ขยาย และจุลินทรีย์เฉพาะ

3. หมักและกลับกอง โดยใช้ระยะเวลาในการหมักนาน 3-4 เดือน

4. ครบกำหนดแล้วนำมาผึ่งให้แห้งพอประมาณ แล้วนำเข้าเครื่องตีป่น เพื่อให้ปุ๋ยมีความละเอียดและ

กรองเอาเศษหินและกรวดที่ไม่ต้องการออก

5. ตรวจสอบคุณภาพ เช็คความชื้น และค่า PH (ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง)

6. ผสมเชื้อราและแบคทีเรีย รวมทั้งฮอร์โมน ก่อนการบรรจุกระสอบ

3.ตารางอัตราการใช้ปุ๋ยมูลช้าง

ชนิดของพืช อัตราใช้ วิธีการใช้

ไม้ดอกไม้ประดับ 400-500 กรัม / ดิน 10 กก.

2.5 – 3 ก.ก./ตารางเมตร คลุกเคล้าผสมกับดินก่อนปลูกใส่พร้อมพรวนดินในแปลงปลูก

พืชผักสวนครัว 1-2 ก.ก. /ตารางเมตร หว่านผสมคลุกเคล้ากับดินก่อนการปลูกหรือโรยแถวข้างต้นพืช

ไม้ผลปลูกใหม่ 5 กก. / หลุม ผสมดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกรายรอบต้น

แนวทรงพุ่มและพรวนดินกลบ

ไม้ผลระยะให้ผลผลิต 5-10 กก./ต้น โรยรอบต้อน แนวทรงพุ่ม แล้วพรวนดินกลบ ควรใส่ปีละ 2-3 ครั้ง

พืชไร่ 1.1.5 ตัน/ไร่ ใช้พร้อมพรวนดินครั้งสุดท้ายก่อนปลูกหรือโรยข้างต้นพืชแล้วพรวนดิน

สนามหญ้า 2-3 กก./ตารางเมตร

1-2 กก. /ตารางเมตร หว่านให้ทั่วผิวดิน ก่อนปูหญ้า หว่านให้ทั่วแปลงหญ้าแล้วรดน้ำ

ตามล้างใบหญ้าให้สะอาด

4. คุณสมบัติ

ใส่เพื่อปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารแก่พืช ทำให้ดินมีความสามารถในการเก็บความชื้น และถ่ายเทอากาศได้ดี เพิ่มจุลินทรีย์ในดินและมีส่วนผสมของเชื้อราไตรโดเดอร์ม่า ควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคโคนเน่า รากเน่า เชื้ออโซโตแบตเตอร์ ช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับต้นพืช และเพิ่มไคโตซานทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงบางชนิด รวมทั้งช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช




2 ความคิดเห็น: