จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการช้างวาดภาพ


           วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้ร่วมมือกับ Mr.Komar และ Melamid เมื่อกลางปี 2540 ในการร่วมมือกันส่งเสริมโรงเรียนศิลปะช้าง โดยศิลปิน ชาวรัสเซีย 2 ท่านนี้ ได้มาร่วมส่งเสริมให้ช้างวาดภาพ และนำภาพไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเดินทางไปทั่วประเทศไทย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ช้างไทย วาดภาพ เพื่อนำรายได้ให้กับผู้เลี้ยงช้าง จากวันนั้น ได้แต่งหนังสือไว้ เรื่อง when elephants paint the quest of Two Russian Artists to save the Elephant of Thailand Komar & Melamid with mai fineman intreduction by Dave Eggers ไว้ และได้ประสานงานความร่วมมือกันมาตลอด ส่งผลให้วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้สนับสนุน ให้ช้างไทยหันมาสร้างผลงานการวาดภาพมากขึ้น เป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างรายได้ให้กับควาญช้าง และสร้างงานให้กับช้าง โดยช้างทำงานที่ไม่หนัก       
          และในปี 2550 วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ภาควิชาศิลปะ นำนักศึกษา เข้ามาร่วมเป็นพี่เลี้ยงควาญช้างในการสร้างสรรค์ผลงานของช้างน้อย จำนวน 7 เชือก ได้แก่
1. พลายนำโชค อายุ 11 ปี
2. สีดอบุญรอด อายุ 10 ปี
3. พังเพชรมณีศรีอยุธยา อายุ 8 ปี
4. พลายกิ่งแก้ว อายุ 6 ปี
5. พลายยอดเยี่ยม อายุ 9 ปี
6. พลายพันล้าน อายุ 4 ปี
7. พังกำไลทอง อายุ 4 ปี

ผลงานจากศิลปินช้างไทย

พังกำไลทอง

ภาพนี้เป็นลักษณะดอกไม้จากจินตนาการของช้างน้อย พังกำไลทอง


พลายพันล้าน


ภาพนี้ลักษณะเป็นรูปหัวช้าง

พลายนำโชค

ภาพนี้เป็นเทคนิคทางศิลปะของพลายนำโชค

พลายกิ่งแก้ว


ภาพนี้เป็นเทคนิคทางศิลปะของช้างน้อยพลายกิ่งแก้ว


ภาพนี้เป็นเทคนิคทางศิลปะของพลายสีดอบุญรอด

ช้างวาดรูป


          ช้างบ้าน ช้างป่าแตกต่างกันในปัจจุบันแยกแยะออกง่าย ช้างป่าอยู่ในป่าเขตอุทยานแห่งชาติ มีสรรพนามเป็นตัว ไม่สามารถอยู่กับคนได้ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ช้างบ้านเป็นช้างที่คนนำมาเลี้ยงเกิดที่บ้าน เป็นลูกเป็นหลานช้างที่เกิดขึ้นที่บ้านมีสรรพนามเป็นเชือก เพราะเป็นการทำพิธีแยกลูกช้างของชาวกูย และภาคกลางที่จะนำเชือกปะกำมาคล้องที่ขาหลังช้างก่อนนำไปฝึกช่วงแยกกับแม่ลูก เปลี่ยนสรรพนามจากตัวเป็นเชือก กรมปศุสัตว์จะทำทะเบียนฝังไมโครชิฟที่คอ กรมการปกครองจะจัดทำตั๋วรูปพรรณช้าง และสำคัญช้างบ้านต้องมีผู้ดูแลคือควาญช้าง ร่วมใช้ชีวิตผู้เลี้ยงช้างคือควาญช้าง
         การดำเนินชีวิตของควาญช้างและช้างในปัจจุบันมีความแตกต่าง กันไปตามยุคเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา การเลี้ยงช้างเพื่อการดำรงอยู่ระหว่างคนและช้างในปัจจุบันเป็นอาชีพและหน้าที่ อาชีพคือรับจ้างสร้างรายได้ หน้าที่คือช้างเป็นของมรดกของครอบครัวถ้าไม่เลี้ยงใครจะเลี้ยง และอาชีพช้างในปัจจุบันก็ต้องปรับไปตามยุค ช้างเข้าสู่ธุรกิจท่องเที่ยวบริการนักท่องเที่ยวนั่งช้างชมธรรมชาติ ชมโบราณสถาน ช้างเล็ก (ช้างอายุ ๓-๑๐ ปี)
        ช้างน้อยกับการเลี้ยงดูและฝึกฝน กลุ่มผู้เลี้ยงช้างเล็ก คือกลุ่มผู้เลี้ยงช้างบ้านค่าย จังหวัดชัยภูมิ ผู้มีความเชี่ยวชาญในการฝึกช้างน้อย มีคณะช้างน้อย จำนวน ๑๔ คณะ แสดงช้างไปทั่วประเทศ
       ช้างน้อยที่แยกจากแม่แล้วต้องได้รับการดูแลและฝึกฝนให้รู้จักการดำเนินชีวิตคู่กับมนุษย์ โดยมีควาญช้างผู้รู้ใจในการฝึก ให้มีความสามารถตามความเหมาะสม การฝึกช้างจะเริ่มต้นตั้งแต่เช้า ด้วยการฝึกให้รู้จักนั่ง ยืนนิ่ง เดินตาม และฝึกให้รู้จักหยิบสิ่งของ ฯลฯ การฝึกช้างต้องใช้เวลาประกอบการความชำนาญ และสำคัญอาหาร ความผูกพันกับช้าง ให้ช้างมีความรู้ว่าคุณคือมิตร
       ช้างวาดรูปเป็นกิจกรรม หนึ่งที่วังช้างอยุธยา แล เพนียด มองว่าช้างสามารถทำได้ และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับควาญช้าง สามารถจัดการให้เป็นต้นแบบแห่งการช่วยให้ช้างนั้นได้ทำงานที่น้อยลง คือผลงานที่ออกมาเป็นศิลปะ ที่ชาวต่างประเทศสนใจ เกิดจากช้าง สัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และฉลาด มีความสามารถ มีเสน่ห์ และสำคัญมีประวัติศาสตร์ชาติไทยเกี่ยวกับช้างมากมายชวนให้หลงใหล
       วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้เริ่มให้ช้างได้ฝึกวาดรูปมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้กับผู้มาเยือนได้สนใจ ได้ซื้อภาพที่ช้างวาดไว้เป็นที่ระลึก จากการฝึก และทดลองกับช้างหลายเชือก ประสบว่า ช้างบ้างเชือกไม่สามารถฝึกได้ หรือจะฝึกได้ก็ต่อเมื่อเป็นช้างเล็ก และอุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับขนาดของ งวง กระดานจะต้องมีความสัมพันธ์กับระดับสายตา จึงต้องเริ่มศึกษากระบวนการสอนช้างวาดรูป ใหม่ดังนี้

การศึกษาอุปกรณ์ให้ช้างวาดรูป

กระดานรองกระดาษ ต้องสัมพันธ์กับสายตาช้าง มีขาตั้งแข็งแรง รองรับน้ำหนักงวงช้างได้ องศาการเอียงก็สำคัญเช่นกัน จะต้องปรับตลอดเวลา ให้เหมาะสมกับขนาดของช้าง

แปรง และพู่กัน ต้องดัดแปรง ให้ช้างจับได้ ด้วยการเพิ่มพื้นที่จับ ให้เป็นลักษณะตัวที และมีความลึกของตัวที่ไม่มาก พู่กันมีหลายขนาด ตามความเหมาะสมของช้าง (มีอุปกรณ์เฉพาะตัว)

สีต้องไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังช้าง เป็นสีน้ำพลาสติก

กระดาษ ของวังช้างอยุธยา แล เพนียด เป็นกระดาษพิเศษ คือกระดาษที่ทำจากมูลช้าง ซึ่งมีลวดลาย เป็นเอกลักษณ์และสวยงามอยู่แล้ว เป็นที่เดียวในโลกที่ใช้กระดาษมูลช้างนำมาวาดรูป

วัตถุประสงค์

๑. สร้างงานให้กับช้างเล็ก
๒. สร้างอาชีพให้กับควาญ สร้างความรัก ความผูกพันกับช้างให้มากขึ้น
๓. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสามารถของช้างไทยสู่สายตาชาวโลก
๔. ขยายผลให้กลุ่มผู้เลี้ยงช้างทุกกลุ่มได้รับการถ่ายทอด ไปสอนช้างและสร้างรายได้ต่อไป
๕. ช่วยให้ช้างทำงานง่าย และไม่เมื่อย

ผู้ฝึกสอน หรือที่ปรึกษา

วังช้างอยุธยา แล เพนียดร่วมมือกับอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา โดยคณาจารย์ภาควิชาศิลปะ โดยมีนักศึกษา มาร่วมกันสอนช้างและสอนควาญ ให้รู้จักทฤษฎีสี การจัดวางภาพ และอุปกรณ์
ส่วนผู้สอนควาญและช้างมา เรียนรู้การดำเนินชีวิต และการควบคุมช้างเบื้องต้น ให้เข้าใจควาญช้างและช้าง เมื่อเข้าใจทั้งสองฝ่าย ช้างก็จะเป็นศิลปิน ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันน่าพิศวง

สถานที่สอนช้าง

ต้องเป็นสถานที่ไม่มีผู้คนรบกวนสมาธิ เงียบพอสมควร เป็นธรรมชาติ เวลาเรียนวาดภาพ ก็ใช้ช่วงเช้า หรือเย็น (อากาศไม่ร้อนช้างไม่หงุดหงิด) เมื่อเรียนไป ได้ครึ่งภาพ ก็ให้อาหารช้างบ้างเป็นรางวัล (การตอบแทนระหว่างกัน)
การเรียนนั้น ผู้ฝึกสอน สอนควาญช้าง ในการเลือกใช้สี การวางโครงภาพ การจัดรูปแบบ ความสมบูรณ์ของภาพ และสังเกตความถนัดของช้าง

การเตรียมช้าง

ช้างก่อนวาดภาพต้องได้รับอาหารก่อน และพาไปอาบน้ำให้สบายตัว
เมื่อจบแต่ละภาพต้องให้พักประมาณ ๑๕ นาทีเป็นต้นไป

คุณลักษณะของช้างแต่ละเชือก

ช้างมีเอกลักษณ์ และอุปนิสัยที่แตกต่างกัน บางเชือกวาดภาพดอกไม้ บางเชือก เป็นภาพศิลปะ ซึ่งมีความหลากหลาย ดังนั้นเมื่อช้างเชือกใดมีความถนัด ก็จะให้สร้างสรรค์ผลงานนั้นไว้
การฝึกสอนช้างให้วาดภาพนั้นต้องใช้เวลา และความผูกพัน ระหว่างช้าง ควาญและผู้สอน ๒ คน ๑ ช้าง ต้องเข้าใจตรงกัน และเข้าใจธรรมชาติของช้าง เราจะไม่ลิขิตชีวิตซึ่งกันและกัน ต่างคน ต่างตอบแทน ช้างได้อาหารเป็นสิ่งตอบแทน เราได้ภาพที่สร้างสรรค์



ที่มา http://www.changdee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=391392&Ntype=5
ช้างวาดรูปศูนย์ฝึกลูกช้างลำปาง








ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=g5VlgsDAxQI
 ผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ. ลำปาง





ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=2a1ecDvTWo4
ประโยชน์ของระบบหมักผลิตก๊าซชีวภาพ



ด้านพลังงาน

- หุงต้มอาหาร แทนแก๊ส แอล พี จี (LPG) หรือแทนถ่านไม้, ไม้ฟืน

- เดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าสำหรับกิจกรรมต่างๆภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

- เดินเครื่องยนต์เพื่อสูบน้ำ

ด้านสิ่งแวดล้อม

- ลดปัญหาของกลิ่นและก๊าซพิษ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียง

- ลดปัญหาการเกิดโรค ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และ สัตว์นำโรค

- ลดปัญหาต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดแหล่งน้ำสาธารณะเน่าเสีย

ด้านปุ๋ย

- ใช้น้ำจากบ่อน้ำทิ้งเป็นปุ๋ยน้ำ

- กากมูลช้างที่ย่อยสลายแล้วนำไปเป็นปุ๋ยหรือนำไปผสมดินแล้วอัดเป็นแท่งเพาะชำ


คุณสมบัติของก๊าซชีวภาพ (เปรียบเทียบที่ขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร)

1. มีค่าความร้อนประมาณ 5,000 – 5,500 กิโลแคลลอรี่

2. น้ำมันดีเซล เท่ากับ 0.60 ลิตร

3. น้ำมันเบนซิน เท่ากับ 0.67 ลิตร

4. น้ำมันเตา เท่ากับ 0.81 ลิตร

5. พลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง

6. ก๊าซหุงต้ม (LPG) เท่ากับ 0.46 กิโลกรัม

7. ไม้ฟืน เท่ากับ 1.5 กิโลกรัม


การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

1. ใช้ในการหุงต้มให้กับเจ้าหน้าที่และควาญช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยทั้งหมด

2. ใช้เดินเครื่องยนต์สูบน้ำ

3. สามารถลดค่าใช้จ่าย คิดเป็นเงินทั้งหมด 10,000.-บาท / เดือน หรือ 120,000.-บาท / ปี
ประโยชน์จากมูลที่ผ่านการหมักแล้ว

1. นำมาอัดเป็นแท่งเพาะชำ สำหรับเพาะชำกล้าไม้ดอก-ไม้ประดับ

2. นำมาผลิตเป็นปุ๋ยโบกาฉิ แจกจ่ายให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ


ประโยชน์จากน้ำเสีย (น้ำจุลินทรีย์)

1. ใช้เป็นปุ๋ยน้ำรดพืช – ผัก ได้เป็นอย่างดี

2. น้ำจากบ่อก๊าซนำมาหมักเป็นหัวเชื้อ EM 5 (หรือ EM ขยาย) สำหรับฉีดพ่นไล่แมลงวัน ดับกลิ่น

ปรับสภาพน้ำฯ แทนหัวเชื้อ EM ที่จำหน่ายตามท้อง

ที่มา http://webboard.elephanthospital.com/viewtopic.php?f=12&t=14
ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพจากมูลช้าง (ELEPHANTS DUNG FERTILIZER)
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง


        โครงการใช้ประโยชน์จากมูลช้างแบบครบวงจรทางธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง ได้จัดทำโครงการใช้ประโยชน์มูลช้างแบบครบวงจรทางธรรมชาติ เพื่อเศรษฐกิจขึ้น สืบเนื่องมาจากในสภาพธรรมชาติ ช้างถือเป็นสัตว์เบิกนำ เป็นผู้ที่ให้ร่มเงาแก่ป่าและสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ช้างจะเป็นผู้เบิกทางภายในป่าและดึงยอดไม้ ใบไม้ที่อยู่ในที่สูงลงมาเป็นอาหารแก่ตัวเองและสัตว์ป่าอื่น ๆ นอกจากนี้ช้างยังเป็นสัตว์มังสวิรัติที่บริโภคอาหารจำพวก พืช ผักและผลไม้ ในแต่ละวันดัวยปริมาณที่มากประมาณ 6-12 % ของน้ำหนักตัวและขับถ่ายออกมาประมาณ 60 % ของอาหารที่ได้กินเข้าไป

           สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ มีช้างอยู่ในความดูแลเป็นจำนวน 50 เชือก ก่อให้เกิดมูลช้างจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะตามมา ทางสถาบันคฃบาลแห่งชาติฯ จึงเล็งเห็นสมควรที่จะนำมูลช้างมาใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าให้กับมูลช้าง โดยนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่แก๊สชีวภาพ,กระดาษมูลช้าง, ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นศูนย์ตัวอย่างของการนำมูลช้างกลับมาสร้างประโยชน์ และมาตรฐานให้แก่ปางช้างและผู้ประกอบการเกี่ยวกับช้างทั่วประเทศ เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นการลดมลภาวะ และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

         กระบวนการและขั้นตอนของการผลิตปุ๋ยมูลช้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ โดยประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ สำหรับวัตถุดิบเป็นส่วนผสมสำคัญ คือ มูลช้าง,ตะกรันอ้อย,หินฟอสเฟต,โดโลไมท์ และมูลสัตว์ ขั้นตอนการหมักจะหมักรวมเป็นชั้น ๆ แล้วราดดัวยน้ำจุลินทรีย์ประยุกต์ ใช้ทั้ง EM ขยายและจุลินทรีย์เฉพาะหลังจากหมักและกลับกองใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน แล้วตรวจสอบคุณภาพ และผสมเชื้อราและแบคทีเรียรวมทั้งฮอร์โมนในขั้นตอนก่อนการบรรจุลงถุง เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพจากมูลช้างสำเร็จรูป บรรจุลงถุงพร้อมจำหน่าย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจาก มูลช้าง ตราอนุรักษ์ช้างไทย ภายใต้สโลแกน ปุ๋ยดี ปุ๋ยคุณภาพเหมาะสำหนับคนรักช้างและต้นไม้

        สิ่งสำคัญที่สุดของปุ๋ยมูลช้างจะเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และเชื้อแบคทีเรีย อโซโตแบตเตอร์ ทำให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดินอย่างต่อเนื่อง ตรึงไนโตรเจนในปุ๋ยมูลช้าง และยังมีเชื้อที่สามารถเปลี่ยนธาตุ P รวมที่มีอยู่ในดินให้เป็นในรูป P2O5 ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเพิ่มไคโตซานเร่งการเจริญเติบโตของพืช

1.ส่วนผสมสำคัญ

มูลช้าง (Elephants dung) ตะกรันอ้อย (Fillter Cake)

หินฟอสเฟต (Phosphate) โดโลไมท์ (Dolomite)

มูลไก่ (Checkens dung) น้ำอีเอม (Effective Microorganism (EM))

2. ขั้นตอนการผลิต

1. นำวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้มาชั่งน้ำหนักตามอัตราส่วน

2. นำมาใส่ในบล็อกหมัก ขนาด 2 X 2 เมตร โดยจะหมักรวมกองเป็นชั้น ๆ จำนวน 6 ชั้น ต่อ 1 บล็อก

ซึ่งแต่ละชั้นจะราดด้วยน้ำจุลินทรีย์ประยุกต์ โดยใช้ทั้ง EM ขยาย และจุลินทรีย์เฉพาะ

3. หมักและกลับกอง โดยใช้ระยะเวลาในการหมักนาน 3-4 เดือน

4. ครบกำหนดแล้วนำมาผึ่งให้แห้งพอประมาณ แล้วนำเข้าเครื่องตีป่น เพื่อให้ปุ๋ยมีความละเอียดและ

กรองเอาเศษหินและกรวดที่ไม่ต้องการออก

5. ตรวจสอบคุณภาพ เช็คความชื้น และค่า PH (ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง)

6. ผสมเชื้อราและแบคทีเรีย รวมทั้งฮอร์โมน ก่อนการบรรจุกระสอบ

3.ตารางอัตราการใช้ปุ๋ยมูลช้าง

ชนิดของพืช อัตราใช้ วิธีการใช้

ไม้ดอกไม้ประดับ 400-500 กรัม / ดิน 10 กก.

2.5 – 3 ก.ก./ตารางเมตร คลุกเคล้าผสมกับดินก่อนปลูกใส่พร้อมพรวนดินในแปลงปลูก

พืชผักสวนครัว 1-2 ก.ก. /ตารางเมตร หว่านผสมคลุกเคล้ากับดินก่อนการปลูกหรือโรยแถวข้างต้นพืช

ไม้ผลปลูกใหม่ 5 กก. / หลุม ผสมดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกรายรอบต้น

แนวทรงพุ่มและพรวนดินกลบ

ไม้ผลระยะให้ผลผลิต 5-10 กก./ต้น โรยรอบต้อน แนวทรงพุ่ม แล้วพรวนดินกลบ ควรใส่ปีละ 2-3 ครั้ง

พืชไร่ 1.1.5 ตัน/ไร่ ใช้พร้อมพรวนดินครั้งสุดท้ายก่อนปลูกหรือโรยข้างต้นพืชแล้วพรวนดิน

สนามหญ้า 2-3 กก./ตารางเมตร

1-2 กก. /ตารางเมตร หว่านให้ทั่วผิวดิน ก่อนปูหญ้า หว่านให้ทั่วแปลงหญ้าแล้วรดน้ำ

ตามล้างใบหญ้าให้สะอาด

4. คุณสมบัติ

ใส่เพื่อปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารแก่พืช ทำให้ดินมีความสามารถในการเก็บความชื้น และถ่ายเทอากาศได้ดี เพิ่มจุลินทรีย์ในดินและมีส่วนผสมของเชื้อราไตรโดเดอร์ม่า ควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคโคนเน่า รากเน่า เชื้ออโซโตแบตเตอร์ ช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับต้นพืช และเพิ่มไคโตซานทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงบางชนิด รวมทั้งช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช




ขั้นตอนการทำกระดาษจากมูลช้าง





จากที่ได้เคยนำเสนอขั้นตอนการทำกระดาษจากมูลช้างไปแล้ว      วันนี้....จะขอนำเสนอรูปภาพขั้นตอน
การทำกระดาษจากมูลช้าง 

1)  เริ่มจากการเก็บมูลช้าง



2)   จากนั้นก็นำมูลช้างไปล้าง  และต้มเป็นเวลา 5 ชั่วโมง 







3)    นำมูลช้างไปปั่นเพื่อตัดเส้นใย เป็นเวลา 3  ชั่วโมง   แล้วใส่สี







4)   จากนั้นนำไปชั่งน้ำหนักและแบ่งเป็นลูกๆเท่าๆกัน




5)   นำลูกที่ได้นี้ไปละลายในเฟรมให้กระจายไปให้ทั่วๆเฟรม





6)   นำเฟรมนั้นไปตากแดด








7)   นำกระดาษออกจากเฟรม



8)  สามารถนำกระดาษที่ได้นี้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ 










วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สิ่งไร้ค่าเป็นสิ่งล้ำค่า สู่ภาพมรดกไทย มรดกโลก


สิ่งไร้ค่าเป็นสิ่งล้ำค่า สู่ภาพมรดกไทย มรดกโลก

นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2545)



        ถัดไปใกล้ๆ กันเป็นบ้าน 2 ชั้น ที่อาศัยของศิลปินท่านนี้ ชั้นล่างในห้องรับแขกจะเต็มไปด้วยผลงานในอดีตและปัจจุบัน นอกจากงานสีน้ำ สีอะคริลิกแล้ว เขายังได้คิดค้นเทคนิคการวาดภาพ ด้วยมูลช้าง เศษผ้า กระดูกสัตว์ และเส้นผม เป็นการนำสิ่งไร้ค่ามาสร้างสรรค์ใหม่เป็นสิ่งที่ล้ำค่าได้อย่างน่าอัศจรรย์


      วัย 74 ของเขา ดูเหมือนไม่ได้เป็นอุปสรรค ในการคิดค้นสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในโลกแห่งศิลปะแต่อย่างใด


     ผลงานแสดงภาพเขียนด้วยมูลช้างที่ศูนย์วัฒนธรรม เมื่อวันที่ 1-30 มิถุนายน 2545 ที่ผ่าน มานั้น มีสถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่นมาถ่ายทำผลงานและประวัติของเขาไปเผยแพร่
      ต่อมาเจ้าหน้าที่ของสมาคมวัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงบ้านสวน เพื่อเลือกซื้อผลงานไปหลายชิ้น สำนักข่าวเอพีก็ได้ให้ความสนใจ เข้ามาสัมภาษณ์ และทางจังหวัดนนทบุรีเองก็มีแนวความคิดที่จะจัดบ้านหลังนี้ ให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งสำหรับโปรแกรมของนักท่องเที่ยว


        "ผมจะทำบ้านเป็น Gallrey of the Sun" บุญถึงวาดฝัน โดยวางแผนจะสร้างบ้านหลังเล็กๆ อีกหลังหนึ่ง มุงหลังคาด้วยมูลช้าง และกระป๋องน้ำอัดลม
       
        ในปีนี้เขาได้รับเกียรติจากสมาคมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ให้เป็นศิลปินดีเด่นสาขาทัศนศิลป์ และรับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


        บุญถึง ฤทธิเกิด คือศิลปินคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยศิลปากร มอบรางวัลเกียรตินิยมแห่งชาติ เหรียญทอง แดง ติดต่อกันถึง 4 ปีซ้อน คือ ในปี พ.ศ.2493, 2494, 2495, และ 2498


        แต่ดูเหมือนว่าในระยะหลังๆ จะไม่ค่อยได้เห็นผลงานของเขามากนัก เพราะหลังจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว เขาก็ได้เข้าไปเป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ให้กับทีวีช่อง 4 (ช่อง 9 ปัจจุบัน) และยังเป็นผู้จัดรายการดังในอดีตคือ "วรรณทัศน์สังคีต" เคยทำภาพยนตร์ในนาม จิตรศิลป์ภาพยนตร์ และจากผลงานสะบัดปลายพู่กันลงบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ พร้อมกับการขับร้องเพลงไทยประกอบในช่วงเวลา "ลอดลายพู่กัน" ของรายการในโทรทัศน์ ทำให้ทูตวัฒนธรรมจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้เชิญเขาไปแสดงการวาดภาพตามรัฐต่างๆ ในอเมริกาอยู่นาน จนถึงปี 2531 ก็ถึงจุดพลิกผันครั้งสำคัญของชีวิต


         "ต้องขอบคุณเหตุการณ์ เมื่อปี 2539 เพราะถ้าไม่เกิดปัญหาทางด้านการเงิน ปิดธนาคาร ปิดสถาบันการเงินขึ้นมา ผมคงไม่เกิดปัญญาที่จะมาเขียน ภาพดีๆ ใหม่ หรือมาสรรค์สร้างภาพจากมูลช้าง"


        อดีตในวันเวลาที่ผ่านเลยนั้น บุญถึงได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังด้วยน้ำเสียงที่แจ่มใส และความจำที่แม่นยำ แม้ในบางครั้งจะน้ำเสียงจะสั่นเครือไปบ้างเมื่อพูดถึงบางเรื่อง ที่ประทับใจและผูกพันเป็นพิเศษ


       โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ชีวิตของเขาอาจจะเหมือนลูกศิษย์อาจารย์ศิลป์อีกหลายท่านที่มาจากต่างจังหวัด ฐานะไม่ดีนัก แต่ มีฝีมือในการวาดภาพ และอาจารย์ศิลป์คอยสนับสนุนและช่วยเหลือในหลายๆ เรื่อง จนจบมหาวิทยาลัยศิลปากร


       ปี 2531 บุญถึงยังตระเวนวาดภาพอยู่ในอเมริกา แต่แล้วก็มีคนติดต่อขอซื้อ ที่ดินของเขาแปลงหนึ่งที่หาดแม่รำพึง ในจังหวัดระยอง ในช่วงเวลานั้น ราคาที่ดินแถบ ชายทะเลยุคพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี กำลังเบ่งบานรับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด บุญถึงเองเมื่อกลับมาเมืองไทยหลงใหล ได้ปลื้มกับอาชีพด้านพัฒนาที่ดินอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่ง ฟองสบู่แตกธนาคารเริ่มระงับการให้สินเชื่อโครงการ เหตุการณ์เลวร้ายต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากชำระสะสางเรื่องการเงินและที่ดินเสร็จสรรพ เขาก็เลยกลับมามุ่งมั่นกับงานเขียนรูปอีกครั้ง


      การสร้างสรรค์ผลงาน คือจิตวิญญาณของศิลปิน ในห้วงเวลาของการทำธุรกิจที่ดิน อารมณ์ต้องการวาดรูป ก็กลับมาเป็นระยะๆ แต่หลายครั้งหลายคราเมื่อลงมือจรดปลายพู่กัน จิตใจยังที่ยังหมกมุ่นขุ่นมัวกับงานธุรกิจ ทำให้เขาไม่สามารถทำงานได้ หรือแม้ว่าทำได้ก็เป็นภาพที่ไม่ดีเอาเสียเลย


     เมื่อตั้งใจจะเขียนรูปอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2539 เขาก็พบว่า ราคาสีน้ำมันแพงขึ้นมากจนเขาซื้อมาวาดรูปแทบไม่ได้เสียแล้ว ความคิดที่จะหาวัสดุมาทำงานศิลปะแทนสีน้ำมันเลยเข้ามาในช่วงนั้น ครั้งแรกเป็นผลงานที่เกิดจากเศษผ้าที่ทางร้านเขาใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว เอามาตัดเป็นชิ้นโดยจะเขียนเป็นสีน้ำก่อน แล้วเอาเศษผ้าที่มีสีเฉดเดียวกับสีที่เเขียนแล้วแปะลงไป มีเส้นผมด้วย


    "ต้องใจเย็นมากๆ ตอนทำชิ้นแรกๆ อยากจะเห็นผลงานเร็วๆ ผมเอามาวางไว้บนตักเอามานอนทำเลย พอง่วงก็นอน พอตื่น ก็ทำต่อ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนต่อ 1 รูป เพราะผ้าที่ตัดละเอียด ยิบเลย บางทีต้องการสีทองก็ไปซื้อผ้าสีทองมาดึงเอาเส้นด้าย เส้นเดียวมาติดต่อๆ กัน ตอนหลังต้องยอมรับว่าทำด้วยเศษผ้ามันช้า มาก ในขณะที่ขายได้ราคาพอๆ กับสีน้ำมัน"


         จนกระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างขับรถไปพัทยาเพื่อเอางานเขียนไปฝากแกลลอรี่ของเพื่อนๆ ขาย เขาก็พบช้างเชือกหนึ่งเดินอยู่บนถนนนาจอมเทียน ช้างเดินไปก็ถ่ายมูลออกมา แวบแรกที่เขาเห็นก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า มูลช้างส่วนใหญ่เป็นพืชมีเส้นใย น่าจะเอามาทำเป็นกระดาษ หรือส่วนผสมในการทำงานศิลปะได้


         "ผมเลยขับรถไปซื้อกระสอบเก่าๆ มา โกยขี้ช้างใส่ ควาญช้างเลยบอกว่าหากต้องการเยอะๆ ก็ให้เข้าไปที่ปางช้าง ที่นั่นเยอะเลย ก็เลยไปเอา แล้วไปหาความรู้กับนายแพทย์คนหนึ่งที่รู้จักว่าจะทำความสะอาดอย่างไร ก็ทราบว่าต้องเอาไปแช่ฟอร์มาลีนไว้ก่อน 2 คืน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและดับกลิ่น แล้วเอามากรองล้างน้ำ ใส่โซดาไฟต้มจนขาวแล้วก็บด หลังจากนั้นก็เอามาทำเป็นกระดาษ ผสมกาวโปะลงไป และไปเอาเศษผ้ามาขึงเป็นเส้น เป็นตะแกรง โปะมูลช้างลงไปกลายเป็นแผ่นกระดาษแข็ง แล้ว ระบายสีทับ ขรุขระนิดหน่อย หากต้องการให้หนาให้นูนก็เอาสีมาผสมกับขี้ช้าง แล้วก็เอามาเขียนแบบ สีน้ำมันเลย มันก็จะนูนขึ้นมาเป็นสีน้ำมัน พอเขียนก็จะเจอทักษะใหม่ เจอไอเดียใหม่ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ"


         ต้นกล้วยกับเปลือกมันสำปะหลังเป็นวัสดุอีกอย่างหนึ่ง ที่มีเส้นใยและมีกาวเยอะมาก เอามาบด รวมกับมูลช้าง ด้วยวิธีการอย่างนี้ทำให้ไม่ต้องใช้สีน้ำมันอีกต่อไปแต่ใช้สีฝุ่นอย่างเดียว


         งานนิทรรศการภาพเขียนจากมูลช้าง ของบุญถึง ฤทธิเกิด จัดขึ้นครั้งแรกที่เขาดิน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2541


         หลังจากนั้น ชไมพร กัลยาณมิตร เจ้าของร้านอาหารไทย "ศาลาไทย" ในรัฐแคลิ ฟอร์เนีย ก็ได้ติดต่อเขาไปเขียนรูปบนฝาผนังในร้านที่นั่น ต่อด้วยไปเขียนภาพให้เศรษฐีอเมริกันรายหนึ่ง ที่มาเห็นภาพที่ร้านศาลาไทยแล้วประทับใจ


       ผลงานในช่วงนั้นที่อเมริกาหามูลช้างและสารเคมีดับกลิ่นค่อนข้างลำบาก วัสดุที่บุญถึงเอามาดัดแปลงก็คือ ใบไม้ ใบหญ้า ในสวนหลังบ้านของชไมพรนั่นเอง โดยเอามาบดผสมกับกาวแห้งและน้ำแทนมูลช้าง แล้วนำไปเขียนรูป


       บุญถึงกลับมาอยู่เมืองไทยจริงๆ อีกครั้งเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2543 แล้วเริ่มทำงานภาพด้วยมูลช้างอย่างจริงจัง รวมทั้งรับสอนถ่ายทอดวิชาให้กับเด็กๆ ตัวเล็กๆ ด้วย


       ชีวิตของเขาในวันนี้ยังคงมีความสุขกับการเขียนรูปทุกวัน ส่วนใหญ่จะเป็นภาพดอกไม้ และทิวทัศน์ท้องทุ่ง และได้วางแผนการไว้ว่าเร็วๆ นี้จะไปวาดรูปที่จังหวัดอยุธยา และน่าน เพื่อที่จะวาดดอกชมพูภูคา ที่จะออกดอกเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น พร้อมๆ กับเตรียมจัดงานนิทรรศการอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2545 นี้ ในหัวข้อ "สิ่งไร้ค่า เป็นสิ่งล้ำค่า จากมูลช้างสู่ภาพมรดกไทยมรดกโลก"

ที่มา   http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=4015

มูลช้าง


มูลช้าง



                   ของบางอย่างที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลและไร้ค่านั้น แท้จริงแล้วสิ่งของบางอย่างอาจมีประโยชน์มากมายจนเราคิดไม่ถึง เมื่อคราวที่ฉันได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ.2530 มีเรื่องหนึ่งที่จำได้มิรู้ลืมได้แก่เรื่องมูลของช้าง ตอนนั้นไม่เห็นช้างแต่ได้เห็นโรงแปรรูปมูลช้างและเห็นมูลช้างที่แปรรูปแล้ว แต่เดิมนั้นในพระราชวังสวนดุสิตมีโรงช้างต้นแต่เพราะด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าในเขตพระราชวัง สวนจิตรลดานั้นมีหน่วยงานตามพระราชดำริมากขึ้น ทำให้มีบริเวณหรือพื้นที่ให้ช้างได้เดินออกกำลังน้อยเกินไปไม่เพียงพอ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ย้ายช้างสำคัญไปอยู่ในโรงช้างหลวงที่จังหวัดลำปางและสกลนคร เพื่อให้ช้างเดินออกกำลังกาย และทดลองใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ โดยมีผู้ดูแลช้างสำคัญทุกช้าง โดยช่วงแรกย้ายไปไม่กี่ช้างก่อน และให้มีการถวายรายงานการปรับตัวของช้างเป็นประจำ จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี จึงย้ายไปทั้งหมด ส่วน คุณพระเศวตใหญ่ฯนั้น ได้ถูกนำไปไว้ในพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ตามพระราชประเพณีที่ช้างเผือกสำคัญประจำรัชกาลจะต้องอยู่ใกล้พระเจ้าแผ่นดินเพื่อความเป็นศิริมงคล


เจ้าหน้าที่บรรยายว่าตามปกติช้างทั่วไปจะกินอาหารประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ดังนั้นใน 1 วัน จะกินอาหารเฉลี่ยตัวละ 200 – 250 กิโลกรัม สำหรับอาหารของช้างก็จะเป็นพวกหญ้า กล้วย ประมาณ30-40 หวี อ้อย 5-10 ลำยาว และจะมีพวกอาหารเสริมและเกลือแร่ด้วย เป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิต เมื่อกินก็ต้องขับถ่าย เป็นธรรมดาเมื่อกินมากก็ขับถ่ายมาก ด้วยเรื่องมูลช้างที่มีจำนวนมากนี้ ด้วยพระปรีชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยการนำไปหมักเป็นแก๊สชีวภาพใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ จนเมื่อกระบวนการหมักสิ่นสุดลง หมดแก๊สและหมดกลิ่นเหม็นแล้วแต่กากใยของต้นหญ้าที่เป็นอาหารหลักของช้างยังคงเหลือเป็นเส้นสายที่มีลักษณะเฉพาะตัว(ในการทำกระดาษสา ต้องใช้พลังงานคนหรือเครื่องจักรในการตำหรือทุบเปลือกต้นสาให้แหลก ฉะนั้น ช้างจึงเป็นเครื่องบดเส้นใยพลังชีวภาพ) กากของมูลช้างได้ถูกนำมาแปรรูปต่อโดยนำไปทำเป็นกระดาษมูลช้างที่มีลักษณะคล้ายกระดาษสา แล้วก็นำไปแปรรูปต่อเป็นผลิตภัณฑ์จากกระดาษมูลช้างหลากหลายรูปแบบ(ขณะนั้นทราบว่าเวลาที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ ทรงนำผลงานนี้ไปเผยแพร่ด้วย ชาวต่างชาติเห็นเป็นของแปลกและเป็นที่ชื่นชอบ จนมียอดสั่งทำเข้ามามากมาย) และการทำกระดาษมูลช้างนี้ได้เป็นต้นแบบให้องค์กรที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูช้างได้นำไปทำผลิตภัณฑ์จากกระดาษมูลช้าง เป็นการเสริมรายได้อีกทาง เป็นหนทางการอยู่อย่างพอเพียงรูปแบบหนึ่ง


ที่มา     http://krupawana.igetweb.com/index.php?mo=3&art=421904
                                     

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แก๊ส"มูลช้าง" ประโยชน์จากเจ้าตัวโต

คอลัมน์ สดจากประชาสังคม
เกรียงไกร ปัญโญกาศ




   * หมู่บ้านรวมมิตร หมู่ 2 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้าน "ช้าง" เนื่องเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง เลี้ยงช้างกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันมีช้างเลี้ยงประมาณ 35 เชือก แม้ว่าทุกวันนี้การใช้ประโยชน์จากช้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ใช้เพื่อชักลากไม้ หันมาสร้างปางช้างริมฝั่งแม่น้ำกก รับนักท่องเที่ยวชมไพรทุกวัน โดยเฉพาะฤดูท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวไปเยือนจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับควาญช้างตามมา
  
    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่ กินอาหารจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้น เมื่อไปชุมนุมกันอยู่ที่จุดเดียวกัน ถ่ายมูลออกมา ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณ
   * โดยช้าง 1 เชือก ถ่ายมูลออกมาวันละ 40-50 กิโลกรัม ช้างจำนวน 35 เชือก มูลที่ถ่ายออกมาจึงมีมากเป็นตันๆ ตกค้างอยู่ในปางช้าง สร้างมลพิษ ยากต่อการกำจัด  หากแต่เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน นายบุญห่วง ภัทรเชาว์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านรวมมิตร ภายในหมู่บ้านดังกล่าว ชี้แนะให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับช้างในทุกแง่มุมตามแนวทางหลักสูตรท้องถิ่น พร้อมจัดทำโครงงานเรื่อง "แก๊สมูลช้าง"


    นักเรียนจำนวน 373 คนของโรงเรียน ร่วมกันผลิตแก๊สมูลช้างตามโครงงานนำมูลช้างที่เรี่ยราดไปหมักในถังน้ำมัน 200 ลิตร นาน 2 เดือนจึงได้แก๊ส แล้วต่อท่อออกมา พบว่าแก๊สมีเทนที่ได้สามารถต่อกับหัวแก๊สหุงต้มจุดไฟ
  
    * ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่ยาว และกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นมือเข้าสนับสนุนโรงเรียนจนสามารถสร้างบ่อหมักแก๊สมูลช้างขนาดใหญ่
   สร้างเป็นรูปโดมครึ่งวงกลมลึก 210 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 480 เซนติเมตร บรรจุแก๊สได้กว่า 16 ลูกบาศก์เมตร หลังจากหมักนาน 2 เดือนก็จะได้แก๊สมีเทน ที่ต่อท่อพีวีซีออกมาสู่ท่อแก๊สหุงต้มและใช้หุงต้มอาหารกลางวันสาหรับนักเรียนได้ตลอดทั้งปี
   สามารถเติมมูลช้างในบ่อได้ตลอด เนื่องจากวัตถุดิบมีเหลือเฟือ ทั้งแก๊สชนิดนี้ยังสามารถต่อท่อเข้าไปยังตะเกียงเจ้าพายุให้แสงสว่างในยามค่ำคืนได้อีกด้วย
  
   * ผลสำเร็จและวัตถุดิบจากมูลช้างที่ล้นเหลือ ทำให้ชาวบ้านและโรงเรียนร่วมกันขยายบ่อหมักแก๊สมูลช้างเข้าไปยังตัวหมู่บ้าน โดยใช้รูปแบบจากโรงเรียนเป็นต้นแบบ หวังว่าชาวบ้านจะได้ใช้ประโยชน์
   ขณะเดียวกัน ก็ช่วยกำจัดของเสียภายในชุมชนประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อแก๊สหุงต้มหรือถ่าน รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำฟืนด้วย ปัจจุบันมีการขุดบ่อขนาด 16 ลูกบาศก์เมตรเช่นเดียวกันไว้ตามจุดต่างๆ ของหมู่บ้านจำนวน 9 บ่อ แบ่งกลุ่มกันดูแลเป็นกลุ่มๆ


   * นายบุญห่วง กล่าวว่า ปัจจุบันชาวบ้านมีอยู่รวมกันประมาณ 200 ครัวเรือน แบ่งกลุ่มกันทำบ่อหมักแก๊สมูลช้างจำนวน 9 บ่อ บรรจุมูลช้างในอัตรา 1 ต่อ 1 กับน้ำและน้ำจุลินทรีย์ตามสัดส่วน ต่อท่อออกไป 3 รู สำหรับเชื่อมไปยังบ่อเติมมูลช้าง บ่อน้ำล้นและบ่อกากมูลช้างที่เหลือใช้อีก 2-3 เดือน หรือราวเดือนต.ค.ปีนี้ก็จะได้แก๊สมีเทนเหมือนกับที่เราใช้ประโยชน์ในโรงเรียนในปัจจุบัน นอกจากได้พลังงานแก๊สใช้ฟรีๆ เกิดการเรียนรู้ รักช้าง และรู้รักสามัคคีกันภายในหมู่บ้านด้วย
  
   "ปัจจุบันโรงเรียนต่อยอดจากโครงการแก๊สมูลช้าง ด้วยการนำกากมูลช้างที่เหลือจากการหมักไปทำเป็นหัวเชื้อหมักปุ๋ยชีวภาพมูลช้าง จากส่วนผสม ได้หัวเชื้อชั้นดี นำไปผสมดิน ได้ปุ๋ยคุณภาพดี จากนั้นบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาด 5 กิโลกรัม ติดตราชื่อหัวเชื้อปุ๋ย ชีวภาพช้างอารมณ์ดีจำหน่ายถุงละ 15 บาท เราขายได้ 5-6 เดือนแล้วรายได้ก็นำไปช่วยโครงการของเด็กนั่นเอง" นายบุญห่วงกล่าวและว่า ชาวบ้านที่มีบ่อแก๊สมูลช้างทั้ง 9 บ่อสามารถทำได้เช่นเดียวกัน และทำกันได้ทั้งหมู่บ้าน
  * นายอิแสะ แซวา ประธานชมรมปางช้างบ้านรวมมิตร กล่าวว่า ช่วงนอกฤดูกาลมีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการนั่งช้างชมหมู่บ้าน ล่องแม่น้ำกกและชมป่า วันละประมาณ 40-50 คน หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวไป เยือนวันละถึง 100 คนขึ้นไป นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่มูลช้างจากปางช้างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
    ถึงตอนนี้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดสรรงบประมาณผ่านทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(อบจ.) เชียงราย และอบต.แม่ยาว เพื่อสนับสนุนชาวบ้านรวมมิตรสร้างบ่อหมักแก๊สมูลช้างบ่อละ 39,000 บาท ขณะที่กระทรวงพลังงานจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลและให้คำปรึกษา
    ด้วยความสามารถในการประยุกต์ใช้ นำสิ่งของไร้ค่าในท้องถิ่นมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ขณะเดียวกัน ก่อให้เกิดความรักสามัคคีระหว่างคนในชุมชน ผูกพันไปถึงความรักและเห็นคุณค่าของช้างไทย ที่น่าจะนำไปเป็นตัวอย่างนำร่องสำหรับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป




Ref. http://www.matichon.co.th/khaosod/kh...day=2006/09/23

ประโยชน์ขี้ช้าง..มีค่ามหาศาล ~*

                ประโยชน์ขี้ช้าง..มีค่ามหาศาล หนึ่งเดียวในโลกจากศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

ช้าง.. เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทย มานานแสนนาน และ
มีความผูกพันกับสัตว์ตัวนี้ในสังคม ตั้งแต่ระดับ
เจ้าฟ้ามหากษัตริย์มาถึงไพร่ฟ้าสามัญชน ...
ซึ่งมีกิจกรรมร่วม ตั้งแต่งานราชพิธี ลงมาถึงระดับ
ใช้งาน ในด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
ด้วยที่ความสำคัญและความผูกพันนี้ องค์การ
อุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมได้มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์
เผ่าพันธุ์ช้างให้ยั่งยืนสืบไป จึงได้ตั้ง
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย หรือ สถาบันคชบาลแห่งชาติ
ขึ้นที่บ้านปางหละ อ.งาว จ.ลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2512

    ต่อมาได้ย้ายมาจัดตั้งที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 28-29 ริมถนน ลำปาง-เชียงใหม่ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง บนพื้นที่ 762 ไร่ โดยได้รับพระอุปถัมภ์จาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

นายเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ ผู้จัดการสถาบันคชบาล แห่งชาติฯ บอกว่า...สถาบันฯ แห่งนี้ถือว่าเป็นศูนย์ฝึกลูกช้างแห่งเดียวในโลกและก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากชาวไทยที่อยู่ในประเทศแล้ว ชาวต่างชาติ จากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจเป็นสุด ๆ


   บางรายได้เดินทางมาจากบ้านเกิดของเขา แล้วมากินนอนและเรียนรู้ เพื่อต้องการฝึกเพื่อทำหน้าที่เป็นควาญช้าง


   ด้วยภารกิจหลักของสถาบันฯ มีทั้งการฝึกลูกช้าง, ฝึกควาญช้าง ได้มีประสบการณ์มากว่า 30 ปีและได้ใช้ภูมิปัญญาในการทำงานร่วมกันทั้งคนและช้างเมื่อมีลูกช้างเกิดใหม่ขึ้น จึงต้องมีการเปิดโรงเรียนสอนลูกช้างให้รู้จักการปฏิบัติหน้าที่ และฝึกให้เชื่องและเชื่อฟังคำสั่งของ ควาญช้าง



   และยังดูแลช้างที่เจ็บป่วยทั้งที่มีอยู่ในสถาบันฯ หรือได้รับแจ้งมาจากนอกพื้นที่ก็จะต้องเดินทางออกไปช่วยเหลือทันที รวมทั้งมีการจัดโครงการจับช้างตกมันและอาละวาด โครงการจับช้างเร่ร่อน



จนกระทั่งได้ตั้งเป็น วิทยาลัยการศึกษาพัฒนาช้างไทย และควาญช้าง...!!...

 
ซึ่งทางสถาบันฯ ได้สร้างกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ผลิตผลและวัตถุดิบมาจากช้าง อย่างหลายหลากเช่น โครงการระบบผลิต ก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง เนื่องจากที่นั่นสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 62 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือ 22,630 ลูกบาศก์เมตรต่อปี นำมาทดแทนน้ำมันดีเซลประมาณ 13,578 ลิตรต่อปี ทั้งยังลดปัญหาของกลิ่นเหม็นภายในศูนย์ และไม่กระทบต่อผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียง...


   และกากมูลช้างก็นำมาใช้ประโยชน์ต่อในโครงการปุ๋ยมูลช้างที่ผลิตจากมูลช้างแท้ ๆ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ป้องกันโรคโคนเน่าและผสม เชื้ออโซโตแบตเตอร์ เพื่อตรึงไนโตรเจน และเพิ่ม ไคโตซาน เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ของต้นพืช...


ถ้าไม่อยากที่จะให้มูลช้างสลายไปเป็นปุ๋ยเป็นดิน...ก็ส่งเข้า โครงการผลิตกระดาษจากมูลช้าง ที่สามารถนำมาใช้ทำกระดาษสา, กระดาษห่อของขวัญ หรือประดิษฐ์กรอบรูป ของที่ระลึกมากมาย ฯลฯ

...ความสำคัญ และประโยชน์อย่างมหาศาล ของช้างจึงได้จัด "งานวันช้างไทย" ขึ้นที่ศูนย์อนุรักษ์ ช้างไทย ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ในช่วงวันที่ 12-13 มีนาคม ที่จะถึงนี้ หากใครสนใจอยากไปเที่ยวชมงานและผลิตภัณฑ์ ก็กริ๊งกร๊างสอบถามเส้นทาง 0-5424-7871, 0-5422-8108.




สำเนาจากไทยรัฐ ปีที่ 56 ฉบับที่ 17166 วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2548


: http://www.sarapee.ac.th/index.php/writing/9-writing/36-elephant

อ.อ.ป.ทำก๊าซชีวภาพจากมูลช้างเป็นพลังงานทดแทน" ~*

อ.อ.ป.ทำก๊าซชีวภาพจากมูลช้างเป็นพลังงานทดแทน


 
     ระบบก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง เป็นการดำเนินงานโดย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ณ สถาบันคชบาลแห่งชาติ (ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย) ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เนื่องจากช้างต้นมีช้างสำคัญจำนวน 6 ช้าง มีมูลประมาณวันละ 250-300 กิโลกรัม และที่โรงเลี้ยงช้าง ซึ่งมีช้างสำหรับลานแสดงจำนวน 50 เชือก สามารถเก็บมูลได้วันละประมาณ 1,500-2,000 กก. ซึ่งเมื่อมีปริมาณมูลช้างที่ต้องจัดการเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันความต้องการใช้พลังงานก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ฉะนั้น จึงนำระบบก๊าซชีวภาพมาแก้ไขปัญหาทำให้ได้พลังงานในรูปของก๊าซชีวภาพ
     อันว่า “ก๊าซชีวภาพ” ที่ได้จากมูลช้างนี้ เป็นพลังงานสะอาดที่เกิดจากการนำมูลช้างมาผ่านกระบวนการหมัก เพื่อให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้ออกซิเจนโดยแบคทีเรียหลายชนิด เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมแบคทีเรียจะเจริญเติบโตและย่อยสลายสารอินทรีย์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จนที่สุดเปลี่ยนสภาพเป็นก๊าซชีวภาพ

     องค์ประกอบหลักของก๊าซชีวภาพมี ก๊าซมีเธนประมาณร้อยละ 50-75 ซึ่งเป็นก๊าซที่ติดไฟจึงนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน
     กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ดำเนินการจัดตั้งระบบก๊าซชีวภาพจากมูลช้างเพื่อการหุงต้มอาหารและเดินเครื่องยนต์สูบน้ำขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร 1 บ่อ และขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร 1 บ่อ ณ โรงช้างต้นและจัดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลช้างเพื่อการเดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร 2 บ่อ ณ โรงเลี้ยงช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยโครงสร้างของระบบประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้....

 
1.บ่อเติมมูล เป็นที่ผสมมูลช้างที่ผ่านการปั่นให้เส้นใยมีขนาดเล็กลงแล้วผสมกับน้ำให้เข้ากัน หลังจากนั้นมูลที่ผสมกันดีแล้วจะถูกปล่อยสู่บ่อหมักผลิตก๊าซทางท่อที่เชื่อมต่อระหว่างบ่อเติมมูลกับบ่อหมักผลิตก๊าซ


2. บ่อหมักผลิตก๊าซ เป็นบ่อที่กักเก็บมูลช้าง ซึ่งภายในบ่อมีเชื้อตะกอนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดก๊าซได้ บ่อจะต้องแข็งแรงและไม่รั่วซึม เนื่องจากส่วนโดมของบ่อจะเป็นที่เก็บก๊าซที่เกิดขึ้นก่อนการนำไปใช้


3. บ่อมูลล้น มีหน้าที่รับมูลช้างที่ล้นมาจากบ่อหมักผลิตก๊าซ


4. บ่อแยกกากมูลช้าง เป็นที่รองรับมูลช้างที่ออกมาจากบ่อมูลล้น ก่อนส่วน ที่เป็นน้ำจะไหลลงบ่อน้ำทิ้ง ซึ่งกากมูลช้างที่แยกออกมาได้นี้ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอัดแท่งเพาะชำและทำกระดาษได้


5. บ่อพักน้ำเสีย เป็นบ่อที่รองรับน้ำหลังจากที่กากมูลช้างได้ถูกแยกออกไปแล้ว ซึ่งน้ำจากบ่อนี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยน้ำรดพืช ผัก ได้เป็นอย่างดี และยังสูบกลับไปใช้ในการผสมกับมูลช้างเพื่อเติมลงในบ่อหมักผลิตก๊าซ


        สำหรับผลการดำเนินงานการจัดตั้งระบบฯขนาด 50 ลูกบาศก์เมตรนั้น พบว่ามีประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ 84% อัตราการเกิดก๊าซชีวภาพ 8 ลูกบาศก์เมตร/วัน ส่วนขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร ณ โรงช้างต้น พบว่ามีประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ 90% อัตราการเกิดก๊าซ 18 ลูกบาศก์เมตร/วัน และการจัดตั้งระบบฯขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร 2 บ่อ ณ โรงเลี้ยงช้างพบว่ามีประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ 91%อัตราการเกิดก๊าซ 36 ลูกบาศก์เมตร/วัน ทำให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพรวม 62 ลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ 22,630 ลูกบาศก์เมตร/ปี สามารถทดแทนน้ำมันดีเซลได้ประมาณ 13,578 ลิตร/ปี หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 22,630 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี
     จากผลสำเร็จของโครงการก๊าซชีวภาพทำให้ได้รับรางวัลดีเด่นด้านพลังงานและพลังงานหมุนเวียนประเภท off-grid (โครงการใน ไม่เชื่อมโยงกับสายส่งไฟฟ้า) ของประเทศไทยประจำปี 2547 จากกระทรวงพลังงาน และได้รับรางวัลดังกล่าวในระดับอาเซียนอีกด้วย.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547


http://www.dailynews.co.th/agriculture/each.asp?newsid=39843

มูลช้าง นำมาใช้ประโยชน์ ทำเป็นแก๊สหุงต้ม!!


>> มูลช้าง นำมาใช้ประโยชน์ ทำเป็นแก๊สหุงต้ม '<<

           หมู่บ้านแม่ยาว จ.เชียงราย ได้ใช้ประโยชน์จากมูลช้าง ที่มีอยู่จำนวนมากในหมู่บ้าน โดยการนำมาหมักในถังน้ำมัน เป็นเวลา 2 เดือน ได้แก๊สมีเทน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการหุงต้ม
จุดไฟ และกากที่เหลือจากการหมัก ได้นำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ จำหน่ายราคาถุงละ 15 บาท
ซึ่งตอนแรกทำแต่ภายในโรงเรียน ปัจจุบันได้ขยายการใช้แก๊สจากมูลช้าง ไปใช้ภายในหมู่บ้าน
       เป็นไงคะ ไอเดียแจ๋วๆของคนไทย นำของที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แทนที่เราจะมัวแต่เหม็น
    มูลช้าง เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตได้ แถมยังมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก :)

ที่มา : http://raiwan.com/2006/09/23/462/

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แปรรูป “มูลช้าง” ขายแข่งขี้ “แพนด้า” ~*


สุรินทร์แปรรูป “มูลช้าง” เป็นสินค้าของที่ระลึกขายแข่งขี้ “แพนด้า”


         องค์การสวนสัตว์ฯ ส่งเสริมชาวบ้าน-ควาญช้าง-เยาวชนหมู่บ้านช้างสุรินทร์ ผลิตและแปรรูป
กระดาษมูลช้างเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เครื่องใช้สำนักงานจำหน่ายให้ ปชช.-นักท่องเที่ยวสร้างรายได้และลดของเสียสู่สิ่งแวดล้อม เผยมีวัตถุดิบขี้ช้างผลิตสินค้าอื้อวันละ 10 ตัน ต่างจากขี้หมีแพนด้ายอดนิยมมีจำกัดแค่ 40 กก./วันพร้อมขยายผลผลิตก๊าชชีวภาพพลังงานทดแทนคุณค่ามหาศาล

         ทางองค์การสวนสัตว์ฯจึงได้ส่งเสริมให้ชาวบ้าน ควาญช้าง เจ้าของช้าง และนักเรียน เยาวชนได้รู้จักวิธีการนำมูลช้างมาแปรรูปเป็นกระดาษมูลช้างซึ่งจะสามารถลดของเสียสู่สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ให้กับประชาชนและท้องถิ่นได้อีกด้วย


         นายวันชัย ตันวัฒนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์นครราชสีมา ในฐานะผู้จัดการโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์และดูแลโครงการฝึกอบรมแปรรูปกระดาษมูลช้าง ดังกล่าว เปิดเผยว่าการส่งเสริมการทำกระดาษจากมูลช้าง เคยดำเนินการมาแล้วเมื่อปี 2548 แต่ขาดการเชื่อมต่อ ไม่มีการส่งเสริมด้านการแปรรูปกระดาษมูลช้างและส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์


- ในการอบรมในครั้งนี้ได้เน้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงการผลิตเป็นกระดาษจากมูลช้างและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อจำหน่าย ซึ่งนอกจากการผลิตกระดาษจากมูลช้างแล้วชาวบ้านที่เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้ถึงการการนำมูลช้างไปผลิตเป็นก๊าชชีวภาพพลังงานทดแทนที่มีค่ามหาศาล


- ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่ทำจากการกระดาษมูลของหมีแพนด้า ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ กำลังเป็นที่นิยมมากจำหน่ายในแต่ละวันมีมูลค่านับหมื่นบาท แต่มูลของหมีแฟนด้ามีน้อย วันหนึ่งตกประมาณ 40 กิโลกรัมเท่านั้น แต่มูลช้างมีนับสิบตันต่อวัน จึงเป็นโอกาสดีที่กระดาษจากมูลช้างจะสามารถผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกได้เป็นจำนวนมากเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้


ที่มา : http://www.easytimesradio.com/index.php?option=com_content&view=article&id=195:2010-02-24-23-52-55&catid=1:2009-05-02-09-01-16&Itemid=2

ยากันยุงธรรมชาติ....ขี้ช้าง! ~*

ยากันยุงธรรมชาติ....ขี้ช้าง! ~*



     ช้างกลายเป็นสินค้าที่ขายดีมีเท่าไหร่ไม่พอขายในอินเดีย เพราะนอกจากเป็นยากันยุงธรรมชาติ

ที่ได้ผลชงัดแล้วยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้   ควาญช้างอินเดียที่พาช้างไปร่วมงานตลาดนัดวัวควาย

ในแคว้นพิหาร พากันหาเงินรูปีได้เป็นจำนวนมากจากการขายขี้ช้าง

- นายอัชวิน กุมาร สิงห์ ควาญกุญชรคนหนึ่งเล่าว่า
"พวกชาวบ้านชอบเอาขี้ข้างไปเป็นยากันยุงธรรมชาติ เพราะเมื่อจุดไฟเผามันจะเกิดควัน

ยุงที่ไปโดนเข้าก็จะตายทันที มันเป็นยากันยุงที่ถูกที่สุด เป็นเหมือนยาสมุนไพร ไม่มีพิษภัยอันใด"
- ชาวบ้านอีกผู้หนึ่งเปิดเผยว่า มูลช้างเป็นยากันยุงที่ชงัดที่สุด
"แค่ 10 กก. ก็พอที่จะไล่ยุงให้ครอบครัวของผม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความอบอุ่นในคืนหน้าหนาวด้วย"


ที่มา : http://www.green.in.th/node/1574

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระดาษจาก...มูลช้าง

กระดาษสาจากมูลช้าง




                                                                           
                                                          




มีวิธีทำดังนี้ !!


เริ่มแรกเก็บมูลช้างมาจากปางช้าง แล้วนำมาล้างน้ำ 2-3 น้ำ เอาหินทรายกรวดออก นำไปตากแดด 1 วัน บางครั้งจะนำเปลือกของต้นสา ต้นสับปะรด ต้นกล้วย นำมาต้มแยก แล้วนำมาผสมกับมูลช้าง นำไปต้ม (หลังจากตากแดด 1 วัน)


1.) นำไปต้ม ใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ) ใส่เพื่อให้ไฟเบอร์นุ่ม อ่อนตัวเปื่อย กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค ต้มประมาณ 6 ชั่วโมง



2.) ล้างน้ำ 2-3 น้ำ



3.) นำไปต้มฟอกใส่ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โซเดียมซิลิเกตกาวา ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง จะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีม่วงสดใสขึ้น เปลี่ยนสีเพราะนำไปย้อมสี



4.) นำไปล้างน้ำ 2-3 น้ำ



5.) นำไปบดประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เป็นชิ้นเล็กๆ ถ้าต้องการเพิ่มสี ให้ใส่สีเลย ถ้าไม่ให้สีตกต้องนำไปต้มใส่เกลือ



6.) นำไปอบเอาน้ำออก แล้วนำไปชั่งเพื่อที่จะนำไปใส่แผ่นเฟรม
แผ่นบางใช้ 200-250 กรัม
แผ่นหนาใช้ 300-400 กรัม
แผ่นเฟรมกว้าง 50 ซม.ยาว 80 ซม.


7.) หากตกแต่ง ให้ใส่กลีบดอกไม้ เศษหญ้า ใส่แผ่นเฟรมแผ่นแรกให้ติดเฟรม 15 นาที แล้วนำไปตากแดด 3-4 ชั่วโมง