จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพยนต์เรื่อง ...ช้าง.....

 เป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่ถ่ายทำในสยาม โดย พาราเมาท์ เมื่อ พ.ศ. 2468 
ใช้เวลาถ่ายทำนานถึงหนึ่งปีครึ่งการถ่ายทำได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือน     ออกฉายเมื่อปีพ.ศ. 2470

 

เป็นภาพยนต์ที่หาชมได้ยากค่ะ



ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=eW6Tv693e3E

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการช้างวาดภาพ


           วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้ร่วมมือกับ Mr.Komar และ Melamid เมื่อกลางปี 2540 ในการร่วมมือกันส่งเสริมโรงเรียนศิลปะช้าง โดยศิลปิน ชาวรัสเซีย 2 ท่านนี้ ได้มาร่วมส่งเสริมให้ช้างวาดภาพ และนำภาพไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเดินทางไปทั่วประเทศไทย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ช้างไทย วาดภาพ เพื่อนำรายได้ให้กับผู้เลี้ยงช้าง จากวันนั้น ได้แต่งหนังสือไว้ เรื่อง when elephants paint the quest of Two Russian Artists to save the Elephant of Thailand Komar & Melamid with mai fineman intreduction by Dave Eggers ไว้ และได้ประสานงานความร่วมมือกันมาตลอด ส่งผลให้วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้สนับสนุน ให้ช้างไทยหันมาสร้างผลงานการวาดภาพมากขึ้น เป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างรายได้ให้กับควาญช้าง และสร้างงานให้กับช้าง โดยช้างทำงานที่ไม่หนัก       
          และในปี 2550 วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ภาควิชาศิลปะ นำนักศึกษา เข้ามาร่วมเป็นพี่เลี้ยงควาญช้างในการสร้างสรรค์ผลงานของช้างน้อย จำนวน 7 เชือก ได้แก่
1. พลายนำโชค อายุ 11 ปี
2. สีดอบุญรอด อายุ 10 ปี
3. พังเพชรมณีศรีอยุธยา อายุ 8 ปี
4. พลายกิ่งแก้ว อายุ 6 ปี
5. พลายยอดเยี่ยม อายุ 9 ปี
6. พลายพันล้าน อายุ 4 ปี
7. พังกำไลทอง อายุ 4 ปี

ผลงานจากศิลปินช้างไทย

พังกำไลทอง

ภาพนี้เป็นลักษณะดอกไม้จากจินตนาการของช้างน้อย พังกำไลทอง


พลายพันล้าน


ภาพนี้ลักษณะเป็นรูปหัวช้าง

พลายนำโชค

ภาพนี้เป็นเทคนิคทางศิลปะของพลายนำโชค

พลายกิ่งแก้ว


ภาพนี้เป็นเทคนิคทางศิลปะของช้างน้อยพลายกิ่งแก้ว


ภาพนี้เป็นเทคนิคทางศิลปะของพลายสีดอบุญรอด

ช้างวาดรูป


          ช้างบ้าน ช้างป่าแตกต่างกันในปัจจุบันแยกแยะออกง่าย ช้างป่าอยู่ในป่าเขตอุทยานแห่งชาติ มีสรรพนามเป็นตัว ไม่สามารถอยู่กับคนได้ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ช้างบ้านเป็นช้างที่คนนำมาเลี้ยงเกิดที่บ้าน เป็นลูกเป็นหลานช้างที่เกิดขึ้นที่บ้านมีสรรพนามเป็นเชือก เพราะเป็นการทำพิธีแยกลูกช้างของชาวกูย และภาคกลางที่จะนำเชือกปะกำมาคล้องที่ขาหลังช้างก่อนนำไปฝึกช่วงแยกกับแม่ลูก เปลี่ยนสรรพนามจากตัวเป็นเชือก กรมปศุสัตว์จะทำทะเบียนฝังไมโครชิฟที่คอ กรมการปกครองจะจัดทำตั๋วรูปพรรณช้าง และสำคัญช้างบ้านต้องมีผู้ดูแลคือควาญช้าง ร่วมใช้ชีวิตผู้เลี้ยงช้างคือควาญช้าง
         การดำเนินชีวิตของควาญช้างและช้างในปัจจุบันมีความแตกต่าง กันไปตามยุคเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา การเลี้ยงช้างเพื่อการดำรงอยู่ระหว่างคนและช้างในปัจจุบันเป็นอาชีพและหน้าที่ อาชีพคือรับจ้างสร้างรายได้ หน้าที่คือช้างเป็นของมรดกของครอบครัวถ้าไม่เลี้ยงใครจะเลี้ยง และอาชีพช้างในปัจจุบันก็ต้องปรับไปตามยุค ช้างเข้าสู่ธุรกิจท่องเที่ยวบริการนักท่องเที่ยวนั่งช้างชมธรรมชาติ ชมโบราณสถาน ช้างเล็ก (ช้างอายุ ๓-๑๐ ปี)
        ช้างน้อยกับการเลี้ยงดูและฝึกฝน กลุ่มผู้เลี้ยงช้างเล็ก คือกลุ่มผู้เลี้ยงช้างบ้านค่าย จังหวัดชัยภูมิ ผู้มีความเชี่ยวชาญในการฝึกช้างน้อย มีคณะช้างน้อย จำนวน ๑๔ คณะ แสดงช้างไปทั่วประเทศ
       ช้างน้อยที่แยกจากแม่แล้วต้องได้รับการดูแลและฝึกฝนให้รู้จักการดำเนินชีวิตคู่กับมนุษย์ โดยมีควาญช้างผู้รู้ใจในการฝึก ให้มีความสามารถตามความเหมาะสม การฝึกช้างจะเริ่มต้นตั้งแต่เช้า ด้วยการฝึกให้รู้จักนั่ง ยืนนิ่ง เดินตาม และฝึกให้รู้จักหยิบสิ่งของ ฯลฯ การฝึกช้างต้องใช้เวลาประกอบการความชำนาญ และสำคัญอาหาร ความผูกพันกับช้าง ให้ช้างมีความรู้ว่าคุณคือมิตร
       ช้างวาดรูปเป็นกิจกรรม หนึ่งที่วังช้างอยุธยา แล เพนียด มองว่าช้างสามารถทำได้ และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับควาญช้าง สามารถจัดการให้เป็นต้นแบบแห่งการช่วยให้ช้างนั้นได้ทำงานที่น้อยลง คือผลงานที่ออกมาเป็นศิลปะ ที่ชาวต่างประเทศสนใจ เกิดจากช้าง สัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และฉลาด มีความสามารถ มีเสน่ห์ และสำคัญมีประวัติศาสตร์ชาติไทยเกี่ยวกับช้างมากมายชวนให้หลงใหล
       วังช้างอยุธยา แล เพนียด ได้เริ่มให้ช้างได้ฝึกวาดรูปมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้กับผู้มาเยือนได้สนใจ ได้ซื้อภาพที่ช้างวาดไว้เป็นที่ระลึก จากการฝึก และทดลองกับช้างหลายเชือก ประสบว่า ช้างบ้างเชือกไม่สามารถฝึกได้ หรือจะฝึกได้ก็ต่อเมื่อเป็นช้างเล็ก และอุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับขนาดของ งวง กระดานจะต้องมีความสัมพันธ์กับระดับสายตา จึงต้องเริ่มศึกษากระบวนการสอนช้างวาดรูป ใหม่ดังนี้

การศึกษาอุปกรณ์ให้ช้างวาดรูป

กระดานรองกระดาษ ต้องสัมพันธ์กับสายตาช้าง มีขาตั้งแข็งแรง รองรับน้ำหนักงวงช้างได้ องศาการเอียงก็สำคัญเช่นกัน จะต้องปรับตลอดเวลา ให้เหมาะสมกับขนาดของช้าง

แปรง และพู่กัน ต้องดัดแปรง ให้ช้างจับได้ ด้วยการเพิ่มพื้นที่จับ ให้เป็นลักษณะตัวที และมีความลึกของตัวที่ไม่มาก พู่กันมีหลายขนาด ตามความเหมาะสมของช้าง (มีอุปกรณ์เฉพาะตัว)

สีต้องไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังช้าง เป็นสีน้ำพลาสติก

กระดาษ ของวังช้างอยุธยา แล เพนียด เป็นกระดาษพิเศษ คือกระดาษที่ทำจากมูลช้าง ซึ่งมีลวดลาย เป็นเอกลักษณ์และสวยงามอยู่แล้ว เป็นที่เดียวในโลกที่ใช้กระดาษมูลช้างนำมาวาดรูป

วัตถุประสงค์

๑. สร้างงานให้กับช้างเล็ก
๒. สร้างอาชีพให้กับควาญ สร้างความรัก ความผูกพันกับช้างให้มากขึ้น
๓. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสามารถของช้างไทยสู่สายตาชาวโลก
๔. ขยายผลให้กลุ่มผู้เลี้ยงช้างทุกกลุ่มได้รับการถ่ายทอด ไปสอนช้างและสร้างรายได้ต่อไป
๕. ช่วยให้ช้างทำงานง่าย และไม่เมื่อย

ผู้ฝึกสอน หรือที่ปรึกษา

วังช้างอยุธยา แล เพนียดร่วมมือกับอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา โดยคณาจารย์ภาควิชาศิลปะ โดยมีนักศึกษา มาร่วมกันสอนช้างและสอนควาญ ให้รู้จักทฤษฎีสี การจัดวางภาพ และอุปกรณ์
ส่วนผู้สอนควาญและช้างมา เรียนรู้การดำเนินชีวิต และการควบคุมช้างเบื้องต้น ให้เข้าใจควาญช้างและช้าง เมื่อเข้าใจทั้งสองฝ่าย ช้างก็จะเป็นศิลปิน ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันน่าพิศวง

สถานที่สอนช้าง

ต้องเป็นสถานที่ไม่มีผู้คนรบกวนสมาธิ เงียบพอสมควร เป็นธรรมชาติ เวลาเรียนวาดภาพ ก็ใช้ช่วงเช้า หรือเย็น (อากาศไม่ร้อนช้างไม่หงุดหงิด) เมื่อเรียนไป ได้ครึ่งภาพ ก็ให้อาหารช้างบ้างเป็นรางวัล (การตอบแทนระหว่างกัน)
การเรียนนั้น ผู้ฝึกสอน สอนควาญช้าง ในการเลือกใช้สี การวางโครงภาพ การจัดรูปแบบ ความสมบูรณ์ของภาพ และสังเกตความถนัดของช้าง

การเตรียมช้าง

ช้างก่อนวาดภาพต้องได้รับอาหารก่อน และพาไปอาบน้ำให้สบายตัว
เมื่อจบแต่ละภาพต้องให้พักประมาณ ๑๕ นาทีเป็นต้นไป

คุณลักษณะของช้างแต่ละเชือก

ช้างมีเอกลักษณ์ และอุปนิสัยที่แตกต่างกัน บางเชือกวาดภาพดอกไม้ บางเชือก เป็นภาพศิลปะ ซึ่งมีความหลากหลาย ดังนั้นเมื่อช้างเชือกใดมีความถนัด ก็จะให้สร้างสรรค์ผลงานนั้นไว้
การฝึกสอนช้างให้วาดภาพนั้นต้องใช้เวลา และความผูกพัน ระหว่างช้าง ควาญและผู้สอน ๒ คน ๑ ช้าง ต้องเข้าใจตรงกัน และเข้าใจธรรมชาติของช้าง เราจะไม่ลิขิตชีวิตซึ่งกันและกัน ต่างคน ต่างตอบแทน ช้างได้อาหารเป็นสิ่งตอบแทน เราได้ภาพที่สร้างสรรค์



ที่มา http://www.changdee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=391392&Ntype=5
ช้างวาดรูปศูนย์ฝึกลูกช้างลำปาง








ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=g5VlgsDAxQI
 ผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ. ลำปาง





ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=2a1ecDvTWo4
ประโยชน์ของระบบหมักผลิตก๊าซชีวภาพ



ด้านพลังงาน

- หุงต้มอาหาร แทนแก๊ส แอล พี จี (LPG) หรือแทนถ่านไม้, ไม้ฟืน

- เดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าสำหรับกิจกรรมต่างๆภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

- เดินเครื่องยนต์เพื่อสูบน้ำ

ด้านสิ่งแวดล้อม

- ลดปัญหาของกลิ่นและก๊าซพิษ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียง

- ลดปัญหาการเกิดโรค ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และ สัตว์นำโรค

- ลดปัญหาต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดแหล่งน้ำสาธารณะเน่าเสีย

ด้านปุ๋ย

- ใช้น้ำจากบ่อน้ำทิ้งเป็นปุ๋ยน้ำ

- กากมูลช้างที่ย่อยสลายแล้วนำไปเป็นปุ๋ยหรือนำไปผสมดินแล้วอัดเป็นแท่งเพาะชำ


คุณสมบัติของก๊าซชีวภาพ (เปรียบเทียบที่ขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร)

1. มีค่าความร้อนประมาณ 5,000 – 5,500 กิโลแคลลอรี่

2. น้ำมันดีเซล เท่ากับ 0.60 ลิตร

3. น้ำมันเบนซิน เท่ากับ 0.67 ลิตร

4. น้ำมันเตา เท่ากับ 0.81 ลิตร

5. พลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง

6. ก๊าซหุงต้ม (LPG) เท่ากับ 0.46 กิโลกรัม

7. ไม้ฟืน เท่ากับ 1.5 กิโลกรัม


การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

1. ใช้ในการหุงต้มให้กับเจ้าหน้าที่และควาญช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยทั้งหมด

2. ใช้เดินเครื่องยนต์สูบน้ำ

3. สามารถลดค่าใช้จ่าย คิดเป็นเงินทั้งหมด 10,000.-บาท / เดือน หรือ 120,000.-บาท / ปี
ประโยชน์จากมูลที่ผ่านการหมักแล้ว

1. นำมาอัดเป็นแท่งเพาะชำ สำหรับเพาะชำกล้าไม้ดอก-ไม้ประดับ

2. นำมาผลิตเป็นปุ๋ยโบกาฉิ แจกจ่ายให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ


ประโยชน์จากน้ำเสีย (น้ำจุลินทรีย์)

1. ใช้เป็นปุ๋ยน้ำรดพืช – ผัก ได้เป็นอย่างดี

2. น้ำจากบ่อก๊าซนำมาหมักเป็นหัวเชื้อ EM 5 (หรือ EM ขยาย) สำหรับฉีดพ่นไล่แมลงวัน ดับกลิ่น

ปรับสภาพน้ำฯ แทนหัวเชื้อ EM ที่จำหน่ายตามท้อง

ที่มา http://webboard.elephanthospital.com/viewtopic.php?f=12&t=14
ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพจากมูลช้าง (ELEPHANTS DUNG FERTILIZER)
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง


        โครงการใช้ประโยชน์จากมูลช้างแบบครบวงจรทางธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง ได้จัดทำโครงการใช้ประโยชน์มูลช้างแบบครบวงจรทางธรรมชาติ เพื่อเศรษฐกิจขึ้น สืบเนื่องมาจากในสภาพธรรมชาติ ช้างถือเป็นสัตว์เบิกนำ เป็นผู้ที่ให้ร่มเงาแก่ป่าและสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ช้างจะเป็นผู้เบิกทางภายในป่าและดึงยอดไม้ ใบไม้ที่อยู่ในที่สูงลงมาเป็นอาหารแก่ตัวเองและสัตว์ป่าอื่น ๆ นอกจากนี้ช้างยังเป็นสัตว์มังสวิรัติที่บริโภคอาหารจำพวก พืช ผักและผลไม้ ในแต่ละวันดัวยปริมาณที่มากประมาณ 6-12 % ของน้ำหนักตัวและขับถ่ายออกมาประมาณ 60 % ของอาหารที่ได้กินเข้าไป

           สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ มีช้างอยู่ในความดูแลเป็นจำนวน 50 เชือก ก่อให้เกิดมูลช้างจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะตามมา ทางสถาบันคฃบาลแห่งชาติฯ จึงเล็งเห็นสมควรที่จะนำมูลช้างมาใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าให้กับมูลช้าง โดยนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่แก๊สชีวภาพ,กระดาษมูลช้าง, ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นศูนย์ตัวอย่างของการนำมูลช้างกลับมาสร้างประโยชน์ และมาตรฐานให้แก่ปางช้างและผู้ประกอบการเกี่ยวกับช้างทั่วประเทศ เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นการลดมลภาวะ และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

         กระบวนการและขั้นตอนของการผลิตปุ๋ยมูลช้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ โดยประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ สำหรับวัตถุดิบเป็นส่วนผสมสำคัญ คือ มูลช้าง,ตะกรันอ้อย,หินฟอสเฟต,โดโลไมท์ และมูลสัตว์ ขั้นตอนการหมักจะหมักรวมเป็นชั้น ๆ แล้วราดดัวยน้ำจุลินทรีย์ประยุกต์ ใช้ทั้ง EM ขยายและจุลินทรีย์เฉพาะหลังจากหมักและกลับกองใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน แล้วตรวจสอบคุณภาพ และผสมเชื้อราและแบคทีเรียรวมทั้งฮอร์โมนในขั้นตอนก่อนการบรรจุลงถุง เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพจากมูลช้างสำเร็จรูป บรรจุลงถุงพร้อมจำหน่าย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจาก มูลช้าง ตราอนุรักษ์ช้างไทย ภายใต้สโลแกน ปุ๋ยดี ปุ๋ยคุณภาพเหมาะสำหนับคนรักช้างและต้นไม้

        สิ่งสำคัญที่สุดของปุ๋ยมูลช้างจะเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า และเชื้อแบคทีเรีย อโซโตแบตเตอร์ ทำให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดินอย่างต่อเนื่อง ตรึงไนโตรเจนในปุ๋ยมูลช้าง และยังมีเชื้อที่สามารถเปลี่ยนธาตุ P รวมที่มีอยู่ในดินให้เป็นในรูป P2O5 ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเพิ่มไคโตซานเร่งการเจริญเติบโตของพืช

1.ส่วนผสมสำคัญ

มูลช้าง (Elephants dung) ตะกรันอ้อย (Fillter Cake)

หินฟอสเฟต (Phosphate) โดโลไมท์ (Dolomite)

มูลไก่ (Checkens dung) น้ำอีเอม (Effective Microorganism (EM))

2. ขั้นตอนการผลิต

1. นำวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้มาชั่งน้ำหนักตามอัตราส่วน

2. นำมาใส่ในบล็อกหมัก ขนาด 2 X 2 เมตร โดยจะหมักรวมกองเป็นชั้น ๆ จำนวน 6 ชั้น ต่อ 1 บล็อก

ซึ่งแต่ละชั้นจะราดด้วยน้ำจุลินทรีย์ประยุกต์ โดยใช้ทั้ง EM ขยาย และจุลินทรีย์เฉพาะ

3. หมักและกลับกอง โดยใช้ระยะเวลาในการหมักนาน 3-4 เดือน

4. ครบกำหนดแล้วนำมาผึ่งให้แห้งพอประมาณ แล้วนำเข้าเครื่องตีป่น เพื่อให้ปุ๋ยมีความละเอียดและ

กรองเอาเศษหินและกรวดที่ไม่ต้องการออก

5. ตรวจสอบคุณภาพ เช็คความชื้น และค่า PH (ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง)

6. ผสมเชื้อราและแบคทีเรีย รวมทั้งฮอร์โมน ก่อนการบรรจุกระสอบ

3.ตารางอัตราการใช้ปุ๋ยมูลช้าง

ชนิดของพืช อัตราใช้ วิธีการใช้

ไม้ดอกไม้ประดับ 400-500 กรัม / ดิน 10 กก.

2.5 – 3 ก.ก./ตารางเมตร คลุกเคล้าผสมกับดินก่อนปลูกใส่พร้อมพรวนดินในแปลงปลูก

พืชผักสวนครัว 1-2 ก.ก. /ตารางเมตร หว่านผสมคลุกเคล้ากับดินก่อนการปลูกหรือโรยแถวข้างต้นพืช

ไม้ผลปลูกใหม่ 5 กก. / หลุม ผสมดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกรายรอบต้น

แนวทรงพุ่มและพรวนดินกลบ

ไม้ผลระยะให้ผลผลิต 5-10 กก./ต้น โรยรอบต้อน แนวทรงพุ่ม แล้วพรวนดินกลบ ควรใส่ปีละ 2-3 ครั้ง

พืชไร่ 1.1.5 ตัน/ไร่ ใช้พร้อมพรวนดินครั้งสุดท้ายก่อนปลูกหรือโรยข้างต้นพืชแล้วพรวนดิน

สนามหญ้า 2-3 กก./ตารางเมตร

1-2 กก. /ตารางเมตร หว่านให้ทั่วผิวดิน ก่อนปูหญ้า หว่านให้ทั่วแปลงหญ้าแล้วรดน้ำ

ตามล้างใบหญ้าให้สะอาด

4. คุณสมบัติ

ใส่เพื่อปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารแก่พืช ทำให้ดินมีความสามารถในการเก็บความชื้น และถ่ายเทอากาศได้ดี เพิ่มจุลินทรีย์ในดินและมีส่วนผสมของเชื้อราไตรโดเดอร์ม่า ควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคโคนเน่า รากเน่า เชื้ออโซโตแบตเตอร์ ช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับต้นพืช และเพิ่มไคโตซานทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงบางชนิด รวมทั้งช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช




ขั้นตอนการทำกระดาษจากมูลช้าง





จากที่ได้เคยนำเสนอขั้นตอนการทำกระดาษจากมูลช้างไปแล้ว      วันนี้....จะขอนำเสนอรูปภาพขั้นตอน
การทำกระดาษจากมูลช้าง 

1)  เริ่มจากการเก็บมูลช้าง



2)   จากนั้นก็นำมูลช้างไปล้าง  และต้มเป็นเวลา 5 ชั่วโมง 







3)    นำมูลช้างไปปั่นเพื่อตัดเส้นใย เป็นเวลา 3  ชั่วโมง   แล้วใส่สี







4)   จากนั้นนำไปชั่งน้ำหนักและแบ่งเป็นลูกๆเท่าๆกัน




5)   นำลูกที่ได้นี้ไปละลายในเฟรมให้กระจายไปให้ทั่วๆเฟรม





6)   นำเฟรมนั้นไปตากแดด








7)   นำกระดาษออกจากเฟรม



8)  สามารถนำกระดาษที่ได้นี้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ