จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของระบบหมักผลิตก๊าซชีวภาพ



ด้านพลังงาน

- หุงต้มอาหาร แทนแก๊ส แอล พี จี (LPG) หรือแทนถ่านไม้, ไม้ฟืน

- เดินเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าสำหรับกิจกรรมต่างๆภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

- เดินเครื่องยนต์เพื่อสูบน้ำ

ด้านสิ่งแวดล้อม

- ลดปัญหาของกลิ่นและก๊าซพิษ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียง

- ลดปัญหาการเกิดโรค ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และ สัตว์นำโรค

- ลดปัญหาต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดแหล่งน้ำสาธารณะเน่าเสีย

ด้านปุ๋ย

- ใช้น้ำจากบ่อน้ำทิ้งเป็นปุ๋ยน้ำ

- กากมูลช้างที่ย่อยสลายแล้วนำไปเป็นปุ๋ยหรือนำไปผสมดินแล้วอัดเป็นแท่งเพาะชำ


คุณสมบัติของก๊าซชีวภาพ (เปรียบเทียบที่ขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร)

1. มีค่าความร้อนประมาณ 5,000 – 5,500 กิโลแคลลอรี่

2. น้ำมันดีเซล เท่ากับ 0.60 ลิตร

3. น้ำมันเบนซิน เท่ากับ 0.67 ลิตร

4. น้ำมันเตา เท่ากับ 0.81 ลิตร

5. พลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง

6. ก๊าซหุงต้ม (LPG) เท่ากับ 0.46 กิโลกรัม

7. ไม้ฟืน เท่ากับ 1.5 กิโลกรัม


การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย

1. ใช้ในการหุงต้มให้กับเจ้าหน้าที่และควาญช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยทั้งหมด

2. ใช้เดินเครื่องยนต์สูบน้ำ

3. สามารถลดค่าใช้จ่าย คิดเป็นเงินทั้งหมด 10,000.-บาท / เดือน หรือ 120,000.-บาท / ปี
ประโยชน์จากมูลที่ผ่านการหมักแล้ว

1. นำมาอัดเป็นแท่งเพาะชำ สำหรับเพาะชำกล้าไม้ดอก-ไม้ประดับ

2. นำมาผลิตเป็นปุ๋ยโบกาฉิ แจกจ่ายให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ


ประโยชน์จากน้ำเสีย (น้ำจุลินทรีย์)

1. ใช้เป็นปุ๋ยน้ำรดพืช – ผัก ได้เป็นอย่างดี

2. น้ำจากบ่อก๊าซนำมาหมักเป็นหัวเชื้อ EM 5 (หรือ EM ขยาย) สำหรับฉีดพ่นไล่แมลงวัน ดับกลิ่น

ปรับสภาพน้ำฯ แทนหัวเชื้อ EM ที่จำหน่ายตามท้อง

ที่มา http://webboard.elephanthospital.com/viewtopic.php?f=12&t=14

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น